ยินดีต้อนรับเข้าสู่..เว็บไซต์..โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละดือรามัน..

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วัคซีนเด็ก

ตารางการฉีดวัคซีนเด็ก
ในขณะตั้งครรภ์ ลูกน้อยในครรภ์จะมีภูมิต้านทานโดยได้รับภูมิคุ้มกันผ่านสายสะดือจากแม่สู่ลูก
และสำหรับทารกแรกเกิดที่ได้รับน้ำนมมารดาจะยังได้รับประโยชน์จากภูมิคุ้มกันจากน้ำนมแม่ แต่ในทั้ง 2 กรณีนั้นถือเป็นการปกป้องลูกน้อยเพียงชั่วคราวเท่านั้น
นี่คือสาเหตุว่า ทำไมจึงจำเป็นต้องเพิ่มภูมิคุ้มกันเพื่อปกป้องลูกน้อยของคุณจากโรคภัยต่างๆ เพราะเมื่อเด็กได้รับภูมิคุ้มกันแล้ว ร่างกายพวกเขาจะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้
เพียงกรอกข้อมูลของคุณที่นี่ คุณจะได้รับตารางภูมิคุ้มกันส่วนตัวสำหรับลูกน้อยของคุณ   
ตารางการฉีดวัคซีน

ตารางนี้จะรวมวัคซีนต่างๆ ที่แนะนำสำหรับลูกน้อยของคุณ 

ช่วงอายุ
วัคซีนที่จำเป็น
ข้อเสนอแนะ
แรกเกิด
ปลูกฝีป้องกันวัณโรค
ตับอักเสบ บี ครั้งที่ 1

1-2 เดือน
ตับอักเสบ บี ครั้งที่ 2

2 เดือน
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
โปลิโอ ครั้งที่ 1
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Hib) เด็กที่ควรให้คือ เด็กที่เลี้ยงในเนอสเซอรี่ หรือเด็กที่มีพี่ไปโรงเรียนอาจจะมีเชื้อติดมาได้
4 เดือน
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
โปลิโอ ครั้งที่ 2
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Hib)
6 เดือน
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
โปลิโอ ครั้งที่ 3
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Hib)
9 – 12 เดือน
หัด หัดเยอรมัน คางทูม ครั้งที่ 1
วัคซีนป้องกันอีสุกอีใสให้ได้ตั้งแต่
อายุ 1 – 12 ปี ให้ 1 เข็ม
อายุ 12 ปีขึ้นไปให้ 2 เข็ม (ห่างกัน 1เดือน)
1 – 2 ปี
ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
ครั้งที่ 1 และ 2 ห่างกัน 1 – 2 สัปดาห์
1.5 ปี
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
โปลิโอ ครั้งที่ 4
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Hib)
2 – 3 ปี
ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
ครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 1 ปี
3 ปี

ตับอักเสบเอ (3 ครั้ง เมื่อ 0,1 และ 6เดือน หรือ 2 ครั้ง เมื่อ 0 และ 6 เดือน)
4-6 ปี
คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
โปลิโอ ครั้งที่ 5



ข้อแนะนำ ในการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน
           
การฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายของเด็กสร้างภูมิคุ้มกันของตนเองด้วยเชื้อโรคที่อ่นแรงหรือบางส่วนของเชื้อโรคที่มีฤทธิ์กระตุ้นการส้างภูมิคุ้มกันได้ฉะนั้นเมื่อลูกของท่านรับฉีดวัคซีนในวันนี้แล้วอาจมีอาการบางอย่างเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อวัคซีนซึ่งโดยทั่วไป จะมีอาการไม่มากและจะหายไปเอง
1.       ตุ่มหนอง มักเกิดจากวัคซีน บี ซี จี ที่ฉีดที่ไหล่ซ้ายตอนแรกคลอด พบหลังฉีด 2-3 สัปดาห์และเป็นๆ ยุบๆ 3-4 สัปดาห์จึงหายเอง
2.       ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีดวัคซีนเด็กอาจจะร้องกวน งอแงได้ ถ้าอาการมาก คุณแม่อาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบและรับประทานยาแก้ปวด
3.       ไข้ตัวร้อน มักเกิดในวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก* ที่ฉีดตอนอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 18 เดือน และ 4 ปี คุณแม่ควรช่วยเช็ดตัวลูกด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นหมาด ๆ โดยเฉพาะบริเวณซอกคอ ข้อพับต่างๆ ควรเช็ดมากๆ และอาจให้รับประทานยาลดไข้ประเภท พาราเซตามอล
4.       ไอ น้ำมูก ผื่น อาจพบหลังฉีดวัคซีนพวกหัด หัดเยอรมันไปแล้ว 5 วัน โดยมากจะไม่รุนแรง ถ้าเด็กมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ซึม เพลียมาก ไม่เล่น ดูดนม หรือรับประทานอาหารไม่ได้ต้องพากลับมาพบแพทย์ แต่ถ้าไม่มีอาการอื่น ๆ มักหายเอง แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ
5.       ชัก มักไม่ได้เกิดจากผลของวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันโดยตรง แต่อาจเกิดจากไข้สูงจัดเกินไป ดังนั้นการป้องกันอย่าให้ไข้สูงเกินไป จึงมีความสำคัญมาก และเมื่อเกิดชักแล้วต้องปฏิบัติดังนี้
-          ผู้ปกครองต้องตั้งสติให้ดี ไม่ตกใจ
-          จับหน้าของเด็กหันไปด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง หรือ นอนคว่ำเพื่อป้องกันการสำลัก
-          ไม่แนะนำ ให้เอาของแข็ง เช่น นิ้วมือ ช้อน ไม้ ฯลฯ ใส่ในปาก เพราะจยิ่งทำให้สำลักมากขึ้น ยังไม่เคยพบใครชักแล้วกัดลิ้นตัวเองขาด
-          รีบนำส่งโรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาลใกล้บ้าน
-          ระหว่างเดินทางถ้าเด็กยังตัวร้อนควรเช็ดตัวมาตลอดทางด้วย

* ปัจจุบันมีวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ชนิดใหม่ ที่มีอาการข้างเคียงน้อยกว่า กรุณาขอคำแนะนำจากแพทย์

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

หลัก ๘ ประการของการดูแลรักษาสุขภาพ

๑. รับประทานอาหาร  อย่างถูกต้องเหมาะสม

           อาหารเช้า
                   สำคัญมากเพราะช่วงเช้าร่างกายขาดน้ำตาล ถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าจะเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะมี
    ผลทำให้ความคิดตื้อตันไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย มื้อเช้ารับประทานได้เช้า
    ที่สุดยิ่งดี (ระหว่างเวลา ๖.๐๐ – ๗.๐๐ น.) เพราะท้องว่างมานาน หากยังไม่มีอาหารให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำข้าวอุ่น ๆ
    ก่อน ควรทานข้าวต้มร้อน ๆ จะช่วยให้ง่ายต่อการขับถ่ายอุจจาระ ถ้าจำเป็นต้องรับประทาน(สาย) ใกล้อาหารมื้อ
    กลางวัน อย่ารับประทานมาก
          อาหารเพล (อาหารมื้อกลางวัน)
                   ควรเป็นอาหารหนัก เช่น ข้าวสวย พร้อมกับข้าวครบ ๕ หมู่ เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมาก และควร
    รับประทานให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย

    ๒. ขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ สม่ำเสมอทุกวัน
    ๓. ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม กับฤดูกาล เช่น หน้าหนาวก็ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ สวมหมวก ถุงมือ ถุงเท้า
         ขณะนอนตอนกลางคืนควรห่มผ้าปิดถึงอก
    ๔. ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายกลางแจ้งทุกวัน
    ๕. รักษาความสะอาดของสถานที่พักอาศัย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมดี อากาศดี
    ๖. รักษาอารมณ์ให้ปลอดโปร่ง แจ่มใสตลอดทั้งวัน และอย่าลืมนั่งสมาธิทุกวัน
    ๗. พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมกับเพศ และวัยไม่ควรนอนดึกเกิน ๒๒.๐๐ น. ติดต่อกันหลายวัน
    ๘. มีท่าทาง และอิริยาบถที่ถูกต้องเหมาะสม ในการทำงานในชีวิตประจำวัน

การเลือกรับประทานอาหาร

อาหารเพื่อสุขภาพ

หมายถึงอาหารที่เมื่อรับเข้าไปแล้วน้ำหนักจะต้องอยู่ในเกฑ์ปรกติ ไม่เป็นโรคเรื้อรัง โดยการเพิ่มอาหารผักและผลไม้ ลดเกลือ ลดน้ำตาล ลดไขมัน

อาหารสุขภาพ

องค์การอนามัยโรคได้นิยามเรื่องอาหารสุขภาพว่า การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ร่วมกับการไม่ออกกำลังกายจะเป็นบ่อเกิดโรคเรื้อรัง องค์การอนามัยโลกได้แนะนำอาหารสุขภาพดังนี้
  • รับประทานอาหารที่สมดุลและมีน้ำหนักที่ปรกติ
  • ให้ลดอาหารไขมัน และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว Saturated fat,Transfatty acid
  • ให้รับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้ ธัญพืขเพิ่มมากขึ้น
  • ลดอาหารที่มีน้ำตาล
  • ลดอาหารเค็ม
สำหรับ National Health Service (NHS)ของประเทศอังกฤษได้นิยามอาหารสุขภาพไว้ว่า มีสองปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงได้แก่
  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสมดุลกับพลังงานที่ใช้
  • รับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย
NHSจึงได้กำหนดแนวทางอาหารสุขภาพไว้ดังนี้
  • ทุกท่านต้องรู้จักจานอาหารสุขภาพซึ่งมีอาหารทั้งหมด 5 หมู่
  • ในจานอาหารสุขภาพจะบอกเราว่าควรจะรับประทานอาหารให้มีสัดส่วนอย่างไร
สำหรับสมาคมโรคหัวใจประเทศอเมริกาได้กำหนดอาหารสุขภาพไว้ดังนี้
  1. รับประทานผักและผลไม้เพิ่มโดยตั้งเป้าให้รับผักและผลไม้วันละ 4-5ส่วนทุกวัน
  2. ให้รับประทานธัญพืชเพิ่มEat more whole-grain foods.เนื่องจากผักและผลไม้มีไขมันต่ำ ใยอาหารสูงได้แก่  Whole-grain foods include whole-wheat bread, rye bread, brown rice and whole-grain cereal.
  3. ให้ใช้น้ำมัน olive, canola, corn or safflower oil สำหรับปรุงอาหารและจำกัดจำนวนที่ใช้ 
  4. รับประทานไก่ ปลา ถั่วมากกว่าเนื้อแดง เนื่องจากไก่ที่ไม่มีหนัง ปลา ถั่วจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าเนื้อแดง.
  5. อ่านฉลากก่อนซื้อหรือรับประทานทุกครั้งเพื่อเลือกอาหารที่มีคุณภาพ
หลักการง่ายๆที่จะทำให้เราได้รับอาหารเพื่อสุขภาพ